หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ

หลักสูตร

ชื่อภาษาไทย    : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ
ชื่อภาษาอังกฤษ    : Bachelor of Public Health Program in Health care and Health Management for Elderly

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)    :  สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (การดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)    :  Bachelor of Public Health (Health care and Health Management for Elderly)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย)    :  ส.บ. (การดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)    :  B.P.H. (Health care and Health Management for Elderly)

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาหลักสูตร
        มุ่งผลิตนักวิชาการสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการดูแลและจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมืออาชีพ โดยการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพในสาขาต่างๆมาใช้ในการดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยพัฒนานิสิตให้มีจิตบริการ มีใจรักในการดูแลผู้สูงอายุ มีองค์ความรู้และทักษะที่สามารถวางแผนและให้การดูแลผู้สูงอายุในทุกมิติที่เชื่อมโยงทั้งการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันและควบคุมโรค และการฟื้นฟูสภาพ สามารถปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติและความสามารถดังนี้
1)  มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิต ปฏิบัติงานตามวิชาชีพโดยคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม มีจิตบริการ สุภาพ อ่อนโยน ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ และมีใจรักการดูแลผู้สูงอายุ
2)  มีความรอบรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านสาธารณสุข และศาสตร์เฉพาะในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อการดูแลและจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง
3)  สามารถประยุกใช้ศาสตร์ทางด้านสาธารณสุขและศาสตร์เฉพาะในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อวางแผนดูแลสุขภาพและจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุในมิติทางกาย จิตใจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลและแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุ
4)  สามารถประยุกต์ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาดำเนินการวิจัยหรือพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

แนวทางการประกอบอาชีพ

1)    นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพ  ศูนย์วิชาการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
2)    นักวิชาการสาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3)    นักดูแลสุขภาพและจัดการสุขภาพผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุ
4)    อาชีพอิสระเป็นผู้ประกอบกิจการด้านการดูแลผู้สูงอายุ
5)    นักวิชาการ นักวิจัยด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และด้านการเรียนการสอน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

ELO1 ปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
ELO2 มีจิตบริการและมีใจรักการดูแลผู้สูงอายุ
ELO3 วางแผนดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ
ELO4 ปฏิบัติการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้โดยใช้ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุในทางกาย จิตใจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลและแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุ
ELO5 มีความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบและมีวินัยในตนเอง

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 21,100 บาท

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 137 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 101 หน่วยกิต
     2.1 รายวิชากลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ 31 หน่วยกิต
            2.1.1 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ 13 หน่วยกิต
            2.1.2 กลุ่มวิชาสาธารณสุข 18 หน่วยกิต
     2.2 รายวิชากลุ่มวิชาชีพเฉพาะ 57 หน่วยกิต
     2.3 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 10 หน่วยกิต
     2.4 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 3 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

การรับเข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
–    สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
–    เป็นผู้มีความประพฤติดี และมีความรักในการดูแลผู้สูงอายุ
–    มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
–    เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559

การรับสมัคร

รับสมัครผ่านระบบ TCAS ในแต่ละรูปแบบ
1.    โครงการพิเศษการรับนิสิตด้วย Portfolio สมัครออนไลน์ ผ่าน https://www.admission.nu.ac.th
2.    โควตา  สมัครออนไลน์ ผ่าน https://www.admission.nu.ac.th
3.    Admission 1 และ Admission 2 สมัครออนไลน์ ผ่าน https://www.admission.nu.ac.th
4.    รับตรงอิสระ สมัครออนไลน์ ผ่าน https://www.admission.nu.ac.th

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการดูแลและการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564

Loading