หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตร

ชื่อภาษาไทย    : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อภาษาอังกฤษ    : Master of Public Health Program

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)    :  สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)    :  Master of Public Health
ชื่อย่อ (ภาษาไทย)    :  ส.ม.
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)    :  M.P.H.

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาหลักสูตร

หลักสูตรดำเนินการจัดการศึกษาตามวิวัฒนาการนิยม (Progressivism) มุ่งให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปรับตัวและนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ ผู้เรียนมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิดระหว่างกัน โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือของการเรียน    การสอน ให้ผู้เรียนมีการค้นคว้าด้วยตนเองร่วมกับการอภิปรายกับผู้สอนผ่านประสบการณ์จริงทั้งในและนอกห้องเรียน ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของกลุ่มประชากรและวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้
1) มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพ ภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศได้
2) สามารถประเมิน วิเคราะห์ วางแผน บริหารจัดการ กำกับดูแลโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาทางสาธารณสุขที่ครบคลุม พฤติกรรมสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ อาชีวอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) ดำเนินการวิจัยได้อย่างถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยและวางแผนพัฒนาระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทสังคม
4) เป็นนักปฏิบัติที่สามารถค้นหาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน โดยใช้ความรู้ทางสาธารณสุขและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการประเมินความจำเป็นด้านสุขภาพ สถานการณ์ปัญหา
5) มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ วางแผน และประเมินผลการทำงานด้านสุขภาพในพื้นที่
6) สามารถทำงานเป็นทีม ทั้งในการเป็นผู้นำและผู้ตาม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนได้อย่างเหมาะสม
7) มีทักษะในการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
8) มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถจัดการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติงานภายใต้กรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมาย

แนวทางการประกอบอาชีพ

1) นักวิชาการสาธารณสุขในภาครัฐและเอกชน ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย
2) นักวิชาการอิสระ
3) นักวิจัยทางด้านสุขภาพ
4) พนักงานในองค์กรด้านสุขภาพ
5) ผู้บริหารการสาธารณสุขทุกระดับ
6) นักวิเคราะห์นโยบายและแผนด้านสาธารณสุข
7) นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
8) ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุข

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

ELO1    สามารถปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขให้แก่ประชาชน ตามจริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับการประกอบวิชาชีพสาธารณสุข
ELO2    สามารถใช้องค์ความรู้ทางด้านสาธารณสุขในการให้บริการสุขภาพและบริการสาธารณสุข
ELO3    สามารถสื่อสารและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับทีมสุขภาพและภาคส่วนอื่น ได้แก่ ท้องถิ่น ประชาชน หน่วยงานเอกชน เป็นต้น
ELO4    ประยุกต์ใช้หลักการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อให้บริการสุขภาพ แก่ครอบครัว กลุ่มประชากร และชุมชน
ELO5    วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่จำเป็น เพื่อปกป้องสุขภาพ และพัฒนาสุขภาพ และจัดบริการสุขภาพให้กับประชาชน
ELO6    วิเคราะห์ข้อมูล แปลผลและตีความหมายของข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ
ELO7    สังเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพที่ครอบคลุมปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพเพื่อนำมาพัฒนาและจัดการการบริการสุขภาพ
ELO8    สามารถเลือกใช้องค์ความรู้และข้อมูลที่เหมาะสมในการพัฒนาการวิจัยด้านสาธารณสุขเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ที่ดูแลรับผิดชอบ
ELO9    ออกแบบการวิจัยทางด้านสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ที่ดูแลรับผิดชอบ

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

จัดการศึกษาในวันราชการ เหมาจ่ายตลอดหลักสูตร 120,000 บาท แบ่งจ่ายรายภาคการศึกษา ดังนี้
ภาคการศึกษาที่ 1 – 2 ภาคการศึกษาละ 35,000 บาท
ภาคการศึกษาที่ 3 – 4 ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท
จัดการศึกษาในวันเสาร์ – อาทิตย์ เหมาจ่ายตลอดหลักสูตร 150,000 บาท แบ่งจ่ายรายภาคการศึกษา ดังนี้
ภาคการศึกษาที่ 1 – 2 ภาคการศึกษาละ 40,000 บาท
ภาคการศึกษาที่ 3 – 4 ภาคการศึกษาละ 35,000 บาท

การรับเข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1)  เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น สาธารณสุขศาสตร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เทคนิค การแพทย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ให้การรับรอง หรือผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน และผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวรว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
2)  ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงกับคุณสมบัติในข้อ 2.2.1 ให้ยื่นเรื่องเพื่อขอรับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

การรับสมัคร

รับสมัครผ่านระบบออนไลน์ https://www.admission.graduate.nu.ac.th/
ภาคเรียนที่ 1 ภายในวันที่ 19 พฤษภาคม            ภาคเรียนที่ 2 ภายในวันที่ 18 ตุลาคม

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรบปรุง พ.ศ. 2565

Loading